หน้าเว็บ

วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

คำศัพท์กิจกรรมการเรียนรู้ขององค์การ

1. Action  Learning  (การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ)
         หมายถึง การเรียนรู้จากการปฏิบัติ หมายถึง การเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่แต่ละบุคคลเรียนรู้ร่วมกันในการวิเคราะห์ปัญหาผ่านกระบวนการของการเรียนรู้และการสะท้อนกลับอย่างต่อเนื่อง โดยการทำงานบนปัญหาจริง และสะท้อนกลับบนประสบการณ์ของตนเอง เสนอแนวทางการแก้ปัญหา และนำแนวทางการแก้ปัญหาที่ผ่านการพิจารณาแล้วไปปฏิบัติ
(ที่มา : ns.mahidol.ac.th)
2. Analyzing  Mistakes (การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด)
         หมายถึง การทำให้ผู้เรียนสามารถชี้ว่าข้อผิดพลาดของตนหรือของผู้อื่นเกิดขึ้นเพราะสิ่งใด
 (ที่มา : ipst.ac.th)
3. Brainstorming (การระดมสมอง)
         หมายถึง เป็นกระบวนการที่มีแบบแผนที่ใช้เพื่อรวบรวมความคิดเห็น ปัญหา หรือข้อเสนอแนะจำนวนมากในเวลาที่รวดเร็ว เป็นวิธีการที่ดีในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และเกิดการมีส่วนร่วมของกลุ่มมากที่สุด การระดมสมองมุ่งเน้นที่จำนวนความคิด ไม่ใช่คุณภาพ
 (ที่มา : www.prachasan.com)
4. Coaching (การสอนงาน)
         หมายถึง การที่คนๆหนึ่ง ช่วยให้ใครก็ตามพัฒนาขีดความสามารถในการทำงาน การสอนงานไม่ได้หมายถึงสาระของการสอนหรือบอกถึงวิธีการทำงานเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ การให้กำลังใจ และให้โอกาสในการทำสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น
(ที่มา : diw.go.th)
5. Computer-Mediated Communications (CMC) (การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์)
         หมายถึง การสื่อสารที่มีคอมพิวเตอร์เป็นช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งสามารถตอบรับได้ทันที     (ที่มา : cosci.swu.ac.th)
6. External  Consultants (การมีที่ปรึกษาภายนอกองค์การ)
         หมายถึง บุคคลที่มาจากภายนอกองค์การ ถูกคัดเลือกขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการคิด วางระบบงานให้แหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์การแต่ละแห่งที่ไม่เหมือนกัน เป็นกลุ่มคนที่จะต้องติดต่อกับผู้บริหารระดับสูงขององค์การ เพื่อนำเสนอและสรุปผลการดำเนินงาน            (ที่มา : www.peoplevalue.co.th)
7. Learning  Contracts (สัญญาการเรียนรู้) 
        หมายถึง ข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เพื่อการเรียนรู้ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
 (ที่มา : wiki.edu.chula.ac.th)
Mentoring(พี่เลี้ยง)
8.
        หมายถึง กระบวนการเรียนรู้เพื่อช่วยให้บุคคลคนหนึ่งสามารถเพิ่มพูนความรู้ เสริมสร้างความเข้าใจ ในแนวทางการดำรงชีวิต และหนทางแห่งความสำเร็จในองค์กรใดองค์กรหนึ่งหรือสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยอาศัยการปลูกฝัง ถ่ายทอดจากคนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง (mentor) ไปสู่อีกคนหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นน้องเลี้ยง (mentee)                                                                                                               
(ที่มา : http://www.vrhris.com/klc/Article/HR/Manager/Mentoring.htm)
9. Networking (การสร้างเครือข่าย) 
        หมายถึง การที่คนเรารู้จักบุคคล จากหลากหลายวงการ นอกจากเครือญาติ หรือเพื่อนฝูงความสัมพันธ์ที่ดี จะนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดี ยิ่งขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นพันธมิตร ที่ก่อให้เกิดกำไรสูงสุด มีการทำงานร่วมกัน และแชร์ผลประโยชน์ร่วมกัน 
(ที่มา : www.novabizz.com)
10. Portfolios (แฟ้มสะสมผลงาน)
         หมายถึง แหล่งรวมข้อมูลที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยข้อมูลดังกล่าว จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์สำหรับประเมินผลการทำงาน เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการทำงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป
 (ที่มา : www.budmgt.com )
11. Project work (งานโครงการ)
         หมายถึง ภาระงานที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าตามหัวข้อที่ผู้เรียนสนใจ
 (ที่มา : www.banmi.ac.th)
12. Rotating jobs (การหมุนเวียนการทำงาน)
         หมายถึง เพื่อให้บุคคลมีโอกาสเรียนรู้ในงานที่หลากหลาย และสลับกันทำงาน
 (ที่มา : www.kmutnb-journal.net) 
13. Team working (การทำงานเป็นทีม)
         หมายถึง กลุ่มบุคคลที่ร่วมกันทางานให้สำเร็จ ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นในองค์กรหรือสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่องค์การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว 
(ที่มา : www.sisat.ac.th)
14. Knowledge Strategy [การวางแผนกลยุทธ์ทางด้านองค์ความรู้]    
     การวางแผนจัดการด้านองค์ความรู้และการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้นั้น ไม่ต่างจากการวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ (Business Strategy) กล่าวคือ ผู้บริหารองค์กรและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจะต้องทราบให้แน่ชัดว่ากำลังจะ นำศาสตร์ด้าน KM มา ใช้เพื่อสร้างประโยชน์ในลักษณะใดต่อองค์กร โดยจะต้องทราบ อย่างแน่ชัดว่าจะใช้งานและบริหารจัดการองค์ความรู้เหล่านั้นในลักษณะใดโดย ให้อยู่บนพื้นฐานที่ว่าการลงทุนที่เกิดขึ้นกับระบบ KM ต้อง สร้างประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรของตน ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย หากจะเริ่มต้นวางแผนออกแบบกลยุทธ์การจัดการองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างมี ประสิทธิภาพ ก็อาจจะต้องว่าจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการศึกษาเพื่อออกแบบระบบที่มีความ สอดคล้องกับการกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ นอกนั้นจะต้องตระหนักว่า แม้จะมีการออกแบบกลยุทธ์ในการจัดการองค์ความรู้ไปแล้ว กลยุทธ์ดังกล่าวก็ควรจะได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นประจำว่ายังมีประสิทธิภาพ และเข้ากันได้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การ แข่งขันอยู่เสมอ

15. Knowledge Sharing [การแลกเปลี่ยนความรู้]
   
  ในสมัยก่อนรูปแบบของการแบ่งปันความรู้แก่กันถูกจำกัดอยู่ในวงแคบๆ พ่อแม่สอนการบ้านลูก ครูสอนหนังสือนักเรียน เพื่อนติวหนังสือให้เพื่อน หรือกว้างออกมาหน่อยก็คือนักเขียนเขียนหนังสือขายให้คนอ่านการแบ่งปันความ รู้ส่วนใหญ่เป็นแบบทางเดียว พ่อแม่สอนการบ้านลูก แต่ลูกไม่ได้สอนอะไรให้พ่อแม่ ครูสอนหนังสือนักเรียน แต่นักเรียนไม่ได้สอนหนังสือให้ครู นักเขียนเขียนให้อ่าน แต่คนอ่านก็ไม่ได้แบ่งปันอะไรกลับมาให้นักเขียน แต่ก็มีบ้างที่เป็นการแบ่งปันแบบหลายทาง เช่น เพื่อนติวหนังสือให้เพื่อน เพื่อนคนนึงอาจจะเป็นคนนำในการติวและเพื่อนอีกคนก็อาจจะถามคำถามที่ตัวเอง สงสัยขึ้นมา ซึ่งเพื่อนที่เป็นคนติวอาจจะตอบไม่ได้แต่ก็อาจจะมีเพื่อนคนอื่นๆที่ช่วยตอบ ให้ได้หรือ การเรียนการสอนในห้องเรียนสมัยใหม่ที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ครูอาจจะไม่ใช่ผู้ถ่ายทอดความรู้เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่เอาแต่เขียนกระดานหรือปิ้งแผ่นใส แต่ครูเป็นเสมือน Facilitator ที่ คอยกระตุ้นให้นักเรียนถ่ายทอดความรู้ของตัวเองให้เพื่อนๆ ฟัง โดยครูเป็นแค่คนคอยไกด์ให้อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องอย่างไรก็ตาม การแบ่งปันความรู้แบบหลายทางก็ยังจำกัดอยู่แค่ในวงแคบๆ เท่านั้น ภายในกลุ่มเพื่อนไม่กี่คนหรือในห้องเรียนเล็กๆ เพราะถ้าคนเยอะขึ้นเมื่อไรก็จะเกิดความโกลาหลขึ้นทันที ต่างคนต่างพูดจนไม่รู้จะฟังใคร หรือมีเวลาจำกัดที่ให้พูดกันทุกคนไม่ได้ ไม่เช่นนั้นไม่จบเรื่องปัจจุบันถ้าคุณอยากแบ่งปันความรู้ คุณก็แค่เขียนบล็อก และเปิดให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็นเข้ามาได้ ซึ่งก็จะช่วยเสริมความรู้ที่คุณนำเสนอให้มีความแข็งแรงมากขึ้น นอกจากบล็อกแล้วก็ยังมีรูปแบบการแบ่งปันความรู้แบบหลายทางอื่นๆ อีก เช่น Wikipedia บริการจาก Yahoo ที่ ออกแนวเว็บบอร์ด คือให้คนตั้งคำถามได้ และเปิดให้คนอื่นมาตอบคำถาม ซึ่งเหมาะสำหรับคนที่พยายามหาคำตอบจากแหล่งต่างๆ แล้วไม่พบ หรือไม่ชอบการค้นหาคำตอบด้วยตัวเองแต่ยินดีรอให้คนอื่นมาตอบให้ ซึ่งแตกต่างออกไปจากเว็บบอร์ดทั่วๆ ไปก็คือระบบการให้คะแนน โดยถ้าใครที่ตอบคำถามได้ดีจนเจ้าของคำถามอ่านแล้วพอใจกับคำตอบ เจ้าของคำถามจะเลือกคำตอบนั้นเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ผู้ตอบคำถามก็จะได้รับคะแนนที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง หรือถ้าคุณเขียนบทความลง Google คุณจะได้ทั้งชื่อเสียงเพราะรูปและประวัติย่อของคุณจะถูกเผยแพร่ไปพร้อมกับบทความด้วย

16. Knowledge Workers    

      ทุนมนุษย์  นับเป็นทรัพยากรอันสำคัญยิ่งขององค์กร ที่เพียบพร้อมไปด้วยทั้ง Tacit Knowledge  ทักษะประสบการณ์ในการทำงาน และเจตคติที่มีต่อองค์กรใน ยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและความเปลี่ยนแปลงนั้นแผ่กระจายไปทั่วโลก ดังนั้นทุกองค์กรจึงพยายามที่จะแข่งขันเพื่อให้องค์กรอยู่รอด ก้าวหน้าและสง่างามกว่าองค์กรอื่น สิ่งที่จะช่วยให้องค์กรสามารถแข่งขันได้นั้นทุกคนในองค์กรต้องทำงานโดยอยู่ บนพื้นฐานความรู้ (Knowledge base) เป็นสำคัญ Blue collar workers จึงกำลังถูกแทนที่ด้วย Knowledge workers หรือผู้ปฏิบัติงานบนพื้นฐานความรู้ซึ่ง Knowledge workers นี้จะเป็นผู้ที่มีศาสตร์เป็นฐานความรู้และมีศิลป์ในการบริหารจัดการในการนำ ความรู้มาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้โดย Knowledge workers       จะมีคุณลักษณะดังนี้

1)  มีความสามารถพิเศษในการแก้ปัญหาใหม่ ๆ
2)  มีความคิดจิตใจที่เป็นอิสระ
3)  การจูงใจที่ดีคือการยอมรับเมือเขาสามารถทำงานได้บรรลุผลสำเร็จ
4)  ชอบทำงานเป็นทีม
5)  ไม่ชอบการควบคุม
6)  ชอบที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระในการสร้างทีม


การ บริหารจัดการโดยใช้วิธีควบคุมและการกำกับทีมจะทำให้ความสำเร็จของงานที่ได้ ไม่ยั่งยืน แต่ทีมที่สามารถควบคุมดูแลตนเองได้จะเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะทีมจะมีคุณลักษณะเฉพาะคือ  ชอบที่จะเรียนรู้ในการควบคุม ตนเอง องค์กร เพียงมีแนวทางและเป้าหมายที่ชัดเจนมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทีมสามารถสร้าง สรรค์ผลงานร่วมกันได้อย่างอิสระ (Delegate & Support)เขาจะสามารถนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้โดยง่ายการ บริหารจัดการ Knowledge workers จึงเป็นเรื่องที่ยากเพราะผู้บริหารมักยึดติดกับการสั่งการและการควบคุม (Direct & Control) ในขณะที่การทำงานร่วมกับ Knowledge workers ผู้ บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ร่วม จริงใจ และ สร้างให้มีความรู้สึกร่วมกันในทีมในการสร้างชื่อเสียงร่วมกัน ซึ่งนับเป็นกุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ต้องการทั้งสติปัญญา ความรู้ความสามารถในงาน ความเข้าใจกันโดยเฉพาะความเข้าใจความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และความสามารถ ในการครองใจผู้ร่วมงานซึ่งต้องใช้ทักษะในการบริหารคน (Human Skill) โดยเฉพาะความสามารถในการสร้างมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้ร่วมงาน ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องท้าทายความสามารถของผู้บริหารยุคใหม่อย่างมาก

17. Leverage of knowledge asset

Knowledge asset
SECI คือกระบวนการสร้างความรู้
Ba คือพื้นที่ที่ก่อให้เกิดกระบวนการสร้างความรู้
Knowledge Assets คือ ความรู้ที่สร้างขึ้นมาได้จาก SECI


ความรู้ที่สร้างจาก SECI จะออกมาในรูป Knowledge Assets อย่างไรก็ตาม Knowledge Assets เองก็สามารถนำกลับไปเป็นต้นทุนในกระบวนการ SECI ครั้งต่อๆไปได้อีกเหมือนกัน

Knowledge Assets แบ่งเป็น 4 แบบ

1. Experimental - ความรู้แบบ tacit ที่เกิดจากประสบการณ์ในการทำงาน และสายสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ฯลฯ
    ได้แก่: ทักษะในการทำงานของแต่ละคน, ความรักในการทำงาน, passion


2.Conceptual - ความรู้แบบ explicit ที่แสดงออกผ่านภาพลักษณ์ สัญลักษณ์ และภาษา
    ได้แก่: คอนเซปต์ผลิตภัณฑ์, ดีไซน์, แบรนด์


3.Routine - ความรู้แบบ tacit ที่วนๆ เป็นรูทีนอยู่ในองค์กร เช่น ทักษะในการทำงานของทีมวิธีหรือขั้นตอนการทำงานในองค์กรวัฒนธรรมองค์กร

4.Systemic - ความรู้ explicit ที่จัดทำเป็นแพกเกจ เช่น เอกสาร คู่มือ สเปก databaseสิทธิบัตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น